ComAp : วิธีการปิดเตือน Production Mode และ Default Password

Click Here —> ComAp : วิธีการปิดเตือน Production Mode และ Default Password


kVAr กับการขนานเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

สวัสดีในเดือนสิงหาคมนะครับ วันนี้ขอนำเรื่องที่พบเจอในรอบ 3 เดือน ที่บังเอิญถึง 3 เหตุการณ์ ที่เกี่ยวกับการขนานเครื่องกำเนิดไฟฟ้ามาเล่าสู่กันฟังนะครับ อาจมีบางกระทู้ที่ผมได้เคยพูดไว้บ้างแล้ว แต่วันนี้ขอหยิบยกมาขยายความซ้ำเพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้นและหวังว่าน่าจะนำไปเป็นแนวทางที่เป็นประโยชน์กันได้ แน่นอนครับว่าพื้นฐานการขนานเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ช่างเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะรู้กันดีอยู่แล้วว่า การขนานเบื้องต้นจะต้องมีเรื่องของลำดับเฟส ความถี่ และแรงดันไฟฟ้าที่สอดคล้องกันหรือใกล้เคียงกันมากที่สุดและต้องอยู่ในตำแหน่งที่มีเส้น Wave Form ทับกันพอดี หรือที่เรียกว่าสถานะ Inphase ถึงจะทำการสั่ง Close CB เข้าขนานกันไปได้ ปัจจุบันการขนานเครื่องกำเนิดไฟฟ้าผ่านชุด Controller นั้นไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอีกต่อไป เพราะ Controller เกือบทุกยี่ห้อได้มีการออกแบบมารองรับการขนานที่มีฟังชั่นป้องกันและยอมอนุญาติให้ทำการสั่งสับจ่ายได้อย่างแม่นยำผ่านรีเลย์ Code 25 ในตัว Controller แต่อย่างไรก็ดีหลังจากการ Close CB เข้าขนานไปแล้วไม่ว่าจะเป็นการขนานกับ Grid หรือขนานกับ Gen ด้วยกันเอง จำเป็นต้องมีการแบ่งภาระโหลดซึ่งกันและกันอย่างเหมาะสมหรือที่เรียกว่า Load Sharing ด้วยการควบคุมที่ระบบ Governor แต่ยังไม่จบแค่นั้นเนื่องจากว่าโหลดทางไฟฟ้าไม่ได้มีเพียงมิติเดียวที่มีหน่วยเป็น kW หรือ kVA แต่ยังจำเป็นต้องคำนึงถึง Load ที่อยู่ในรูปของการสูญเสียแอบแฝงอยู่ด้วยซึ่งก็คือ kVAr นั่นเอง […]


Cloud Base Monitoring System

WebSupervisor Cloud Base Monitoring and Control System ถูกพัฒนาขึ้นโดย ComAp เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีซึ่งมีบทบาทและเป็นเครื่องมือที่เป็นประโยชน์ต่อระบบการจัดการเครื่องจักรกลในสายงาน Rental, Logistic และ Passenger ได้เป็นอย่างดี และยิ่งมีระบบการจัดเก็บข้อมูลดังเช่น Cloud Base System ด้วยแล้วทำให้เติมเต็มด้วยความสมบูรณ์แบบได้อย่างยอดเยี่ยม ทางพินธุภัทรเราได้มีส่วนร่วมกับหลายหน่วยงานในการทำระบบต้นแบบจนสำเร็จและมีการประยุคต์ใช้จริงแล้วกับหลายหน่วยงานเอกชนที่ทำธุรกิจในด้านนี้และได้ผลการตอบรับเป็นอย่างดี เครื่องจักรกลที่ถูกนำเข้าไปในระบบจะถูกมองเห็น และถูกสังเกตุพฤติกรรมการทำงาน มีการแจ้งเตือนการถึงเวลาการซ่อมบำรุง หรือแม้กระทั่งเก็บบันทึกประวัติการทำงานเพื่อนำมาเปรียบเทียบได้ตามชั่วโมงการทำงานหรือระยะเวลาได้ ระบบการจัดการ WebSupervisor หรือ WSV นี้นี้เหมาะกับการนำไปประยุกต์ใช้ร่วมกับระบบการจัดการเครื่องจักรกลประเภท มอเตอร์ เครื่องยนต์ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า หรือเครื่องจักรกลไฟฟ้าอื่นๆ ได้อย่างหลากหลาย เพราะถูกออกแบบมาได้อย่างยืดหยุ่น และสามารถพัฒนาต่อได้ด้วยตัวผู้ใช้เอง เช่นปัจจุบันดังตัวอย่างโครงการหนึ่งคือเราได้นำไปประยุกต์ใช้ในการ Monitor ตัวเรือ ทำให้ผู้ดูแลที่อยู่ต่างสถานที่สามารถมองเห็นการใช้พลังงานของเรือ รวมถึงสภาพภูมิอากาศ ว่า ณ ขณะนั้นอยู่ในสภาพปลอดภัยกับตัวเรือหรือไม่ ยิ่งไปกว่านั้นระบบ WSV นี้มีระบบการ Tracking ในตัวอยู่ด้วยแล้ว ทำให้สามารถมองเห็นตำแหน่งของเรือ ผู้ดูแลระบบการจัดการเดินเรือสามารถกำหนด หรือทำนายได้ทั้งเวลาการเดินเรือ และการจัดตารางเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ


การใช้เชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ดีเซล เครื่องกำเนิดไฟฟ้า หรือ เครื่องสูบน้ำดับเพลิง

สวัสดีกับต้นเดือนตุลาคม ปี 2566 กันนะครับ พอดีวันนี้ได้ทำ Pilot Project การ Monitor การใช้เชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ดีเซลผ่าน Internet เสร็จพอดี จึงเล็งเห็นถึงประโยชน์และประเด็นที่น่าสนใจ และนำมาเล่าสู่กันฟังซึ่งอาจมีผู้สนใจหรือกำลังศึกษากันอยู่ โดยทั่วไปแล้วการใช้เชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ดีเซลนั้นมักจะพูดกันเป็น ลิตร/ชั่วโมง (L/h) แต่เชื่อว่าหลายๆ ท่านอาจจะยังสงสัยกันอยู่และเป็นปัญหาถกเถียงกันแทบไม่รู้จบ เพราะจะต้องนำค่ากำลังของเครื่องมาประกอบการพิจารณาร่วมด้วย แล้วการประเมินกำลังเครื่องยนต์ให้สอดคล้องกับอัตราการใช้เชื้อเพลิงล่ะ? จะพิจารณากันยังไง? วันนี้จึงถือเป็นโอกาสมาเล่าหรืออธิบายให้ฟังกันนะครับ…จากคำถามข้างต้นเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าถ้าขับรถขึ้นภูเขาจะกินน้ำมันมากกว่าขับรถลงภูเขาเพราะการขับรถขึ้นภูเขาจะใช้ภาระกำลังที่มากกว่า ดังนั้นเพื่อให้การประเมินอัตราการใช้เชื้อเพลิงที่เป็นเหตุเป็นผล จึงแนะนำให้ผู้อ่านมาทำความรู้จักกับคำว่าอัตราการใช้เชื้อเพลิงจำเพาะกันครับ ในภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า Specific Fuel Consumption หรือตัวย่อ SFC จะมีหน่วยเป็น g/kWh อาจจะเป็นตัวแปลทางวิชาการสักนิดครับ แต่ไม่ยากครับ SFC คือค่าที่ได้มาจากการนำค่าอัตราการใช้เชื้อเพลิง มีหน่วยเป็นกรัม/ชม. หรือ g/h (สำหรับดีเซล 1 ลิตรจะประมาณ 890 g, ลองซื้อน้ำมันมา 1 ลิตรแล้วมาช่างกิโลดูครับ) แล้วนำมาหารด้วย การใช้พลังงาน (kW) ถามต่อกันว่าทำไมต้องมาดูค่าอัตราการใช้เชื้อเพลิงจำเพาะ หรือ SFC นี้กันครับ? […]


เครื่องกำเนิดไฟฟ้า หรือ เครื่องสูบน้ำดับเพลิง หรือเครื่องยนต์ มีอาการน้ำหล่อเย็นผสมน้ำมันเครื่องในก้นอ่าง

สวัสดีกับเดือน สิงหาคมครับ วันนี้ได้มีโอกาสเอาประสบการณ์การแก้ปัญหาเครื่องยนต์ขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่มีอาการน้ำหล่อเย็นลงผสมน้ำมันเครื่องมาเล่าสู่กันฟังครับ เผื่อจะเป็นประโยชน์และนำไปช่วยในการวิเคราะห์กันได้ครับ สำหรับอาการน้ำผสมลงห้องเครื่องนั้นเป็นปัญหาการวิเคราะห์ที่ไม่ยาก ถ้าเราเข้าใจหลักการทำงานของระบบของเหลวในระบบร่วมกับหลักการทางเครื่องยนต์แล้วเชื่อว่ามากกว่า 90% แก้จบได้อย่างประหยัดและไม่บานปลาย สำหรับของไหลที่เกี่ยวข้องในเครื่องยนต์หลักๆ ทั่วไปนั้นจะมีอยู่ 4 ชนิด คือ 1. น้ำหล่อเย็น 2. น้ำมันหล่อลื่น 3. อากาศ 4. น้ำทะเล (กรณีเรือสินค้าหรือเรือยนต์) แต่ถ้าซับซ้อนมาหน่อยก็จะมีน้ำมันประเภทหล่อลื่นเทอร์โบหรือ Governor ที่ใช้แตกต่างออกไปในที่นี้ไม่ขอกล่าวถึงครับ เห็นได้ว่าของเหลวในเครื่งยนต์นั้นมีหลายชนิด ดังนั้นจะมีหลายกรณีของการรั่วไปผสมกันเช่น น้ำผสมอากาศ น้ำผสมน้ำมันเครื่อง น้ำมันเครื่องผสมน้ำ หรือผสมกันวุ่นวายไปหมด จากปัญหาดังกล่าวนี้ถ้าเรามีหลักวิเคราะห์จะแก้ปัญหาได้ตรงจุด โดยเริ่มจากให้เรานึกถึงอุปกรณ์ของเครื่องยนต์ให้ครบทั้งหมดที่เป็นประเภทเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน และเข้าใจทางเดินของไหลในเครื่องยนต์รอบตัว หลังจากนั้นให้จัดระดับแรงดันการทำงานของของเหลวแต่ละชนิด ทั้งขณะเดินเครื่องและดับเครื่อง รวมถึงของไหลที่อยู่ในบริเวณห้องเผาไหม้และแก๊สจากการเผาไหม้ประกอบด้วย และพิจารณาว่าบริเวณใดที่มีของเหลวชนิดใดทำงานอยู่ด้วยกัน ขอเริ่มจากอุปกรณ์รอบตัวของเครื่องยนต์ดังนี้ 1. Oil Cooler คือเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนที่ส่วนใหญ่ใช้น้ำหล่อเย็นไประบายความร้อนจากน้ำมันเครื่องออก ถ้ามีการรั่วเกิดขึ้น จะมีอาการน้ำมันเครื่องเข้าผสมน้ำหล่อเย็นในทันที เพราะแรงดันน้ำมันเครื่องนั้นสูงกว่าน้ำ 3-4 เท่าตัว ในขณะเดินเครื่อง แต่ในทางกลับกันถ้าดับเครื่องอาจมีน้ำรั่วไหลกลับไปผสมกับน้ำมันเครื่องได้ด้วย Gravity เพราะตอนดับเครื่องแรงดันน้ำมันเครื่องจะเท่ากับบรรยากาศ แต่น้ำหล่อเย็นมีระดับที่สูงกว่าจึงมีแรงดันสูงกว่า กรณีนี้จะมีการรั่วที่เล็กน้อย 2. […]


คุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิง : ไบโอดีเซล กับ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า เครื่องสูบน้ำดับเพลิง

สวัสดีครับ กับที่ห่างหายไปสักพัก วันนี้อยากนำเรื่องใกล้ตัวที่อาจมีหลายท่านยังนึกภาพไม่ออก หรืออาจยังเข้าใจผิดกันอยู่ เกี่ยวกับการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีคุณภาพต่ำหรือเชื้อเพลิงที่มีคุณสมบัติที่แตกต่างไปจากน้ำมันดีเซลกับเครื่องยนต์กำเนิดไฟฟ้า หรือเครื่องปั่นไฟ หรือ เครื่องสูบน้ำดับเพลิงที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลเป็นต้นกำลังขับ ที่ต้องหยิบยกประเด็นนี้มาก็เพื่ออยากให้ผู้ที่มีอุปกรณ์ลักษณะนี้ไว้ในครอบครองนั้นควรมีความตระหนักกันให้มากขึ้น เพราะ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า หรือเครื่องสูบน้ำดับเพลิงนั้นเป็นอุปกรณ์ประเภทรองรับกรณีฉุกเฉิน หรือ Standby ดังนั้นจึงต้องมีความพร้อมตลอดเวลากรณีไฟฟ้าดับ หรือเกิดเหตุเพลิงไหม้ และยิ่งไปกว่านั้นอีกยังต้องรองรับให้เพียงพอตามพิกัดกำลังที่ผู้ออกแบบได้เลือกและติดตั้งไว้ตั้งแต่ต้นอีกด้วย เริ่มจากเครื่องยนต์ดีเซลส่วนใหญ่นั้นถูกออกแบบมาสำหรับการใช้น้ำมันดีเซล และกำลังที่ระบุบน Name Plate นั้นก็ได้มาจากการทดสอบด้วยน้ำมันดีเซล ดังนั้นถ้าเราใช้น้ำมันชนิดอื่นมาทดแทนน้ำมันดีเซลหรือใช้น้ำมันที่มีคุณภาพต่างออกไปแล้วเราจะใช้ Name Plate นั้นอ้างอิงกำลังไม่ได้ จึงต้องใช้วิธีทดลองหรือการสังเกตุจากการใช้งานกันเอง ดังนั้นการใช้ไบโอดีเซลนั้นก็เป็นหนึ่งเหตุผล จากประสบการณ์ที่พบมานั้น ขอให้ทำความเข้าใจก่อนว่า น้ำมันไบโอดีเซลนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ถ้านำมาใช้กับเครื่องยนต์บางประเภทอาจได้ประโยชน์จากข้อดีเป็นอย่างมาก แต่เครื่องยนต์บางประเภทนั้นถ้าใช้น้ำมันไบโอดีเซลแล้วนั้นอาจเกิดผลเสียที่มากกว่าและเห็นผลเสียได้ชัดเจนกว่าได้ หรืออาจจะมีการประยุกต์ใช้ด้วยการนำมาผสมกับน้ำมันดีเซลก็อาจจะเหมาะสมได้ตามแต่ลักษณะการใช้งานของเครื่องยนต์ ที่แตกต่างกันออกไป 1. น้ำมันไบโอดีเซล มีค่าความร้อนต่ำกว่าดีเซลจึงทำให้ต้องใช้เชื้อเพลิงมากขึ้นเพื่อให้ได้กำลังเท่าเดิม หรือกล่าวง่ายๆ คือ การใช้ไบโอดีเซลจะสิ้นเปลืองมากกว่า แต่ถ้าเครื่องยนต์ที่ต้องการรับภาระหนักขึ้น จะต้องฉีดเชื้อเพลิงที่มากขึ้นอีก อาจส่งผลให้สเปรย์หนาแน่นเกินไปและไม่สามารถเผาไหม้ได้สมบูรณ์ตามกำลังที่ประสงค์ได้เช่นกัน 2. น้ำมันไบโอดีเซล มีสูตรเคมีที่มีองค์ประกอบของออกซิเจนรวมอยู่ด้วย ทำให้ช่วยให้การเผาไหม้ที่สมบูรณ์และลดมลพิษได้บางตัวเช่น CO แต่อาจจะไปเพิ่ม NOx ได้เพราะการเผาไหม้ที่ดี 3. ไบโอดีเซลมีความหนืดสูงกว่าดีเซล ทำให้เพิ่มแรงเสียดทานในระบบลำเลียงเชื้อเพลิง […]


เครื่องกำเนิดไฟฟ้า เครื่องสูบน้ำดับเพลิง ควันดำ (Black Smoke)

สวัสดีกันอีกครั้งนะครับกับประเด็นของปัญหา ควันดำ ของเครื่องยนต์ หรือเครื่องกำเนิดไฟฟ้า หรือเครื่องสูบน้ำดับเพลิง หรือไม่ว่าจะเป็นเครื่องยนต์ที่ใช้งานในรูปแบบต่างๆ ทางพินธุภัทรเรา พบเจอกับปัญหานี้เป็นประจำ และเป็นปัญหาที่ค่อนข้างจะละเอียดอ่อนในการแก้ไข เพราะในการแก้ปัญหาแต่ละครั้งมันมีตัวเงินเข้ามาเกี่ยวข้องที่ค่อนข้างสูง แต่ความเป็นจริงแล้วนั้นปัญหานี้มันจะไม่ยากเย็นอะไรมากนัก ถ้าเรายอมที่จะจ่ายและจบมันได้อย่างง่ายดาย ซึ่งก็คือการแก้ปัญหาในทุกสาเหตุแบบเหมารวม แต่ในฐานะที่พินธุภัทร เราเป็นผู้ให้บริการ จึงอยากจะใช้วิธีแก้ปัญหาที่เป็นธรรม และตรงประเด็นให้มากที่สุด เพื่อจะช่วยลดต้นทุนให้กับลูกค้าได้อีกทางหนึ่ง และอยากนำปัญหาจากประสบการณ์มาเล่าสู่กันฟังรวมถึงหลักคิดที่เราใช้ เพื่อจะได้เป็นประโยชน์ อาจจะไม่มากก็น้อย หรืออาจให้ผู้ที่สนใจใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหากันได้ ควันดำ คืออะไร ควันดำก็คือไอเสียของเครื่องยนต์ที่ถูกขับออกมาหลังกระบวนการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ (Incomplete Combustion) น้ำมันดีเซลโดยทั่วไปจะมีสูตรเคมีคือ C14H30 คือสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มี คาร์บอน 14 อะตอม และมี ไฮโดรเจน 30 อะตอม แน่นอนว่าการเผาไหม้นั้นจำเป็นต้องใช้อากาศหรือ O2 เพื่อการสันดาบได้พลังงานออกมาในรูปของความร้อนและการขยายตัวของแก๊สไปผลักลูกสูบเกิดงานออกมาในรูปของพลังงานกล ดังนั้นอัตราการเผาไหม้ที่เหมาะสมจำเป็นต้องมีการควบคุมปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเผาไหม้ทั้งหมดให้อยู่ในค่าและช่วงเวลาที่เหมาะสมเครื่องยนต์จึงจะมีการเผาไหม้ที่สมบูรณ์และได้งานออกมามากที่สุดได้ ในทางอุดมคติแล้วนั้นการเผาไหม้สารประกอบไฮโดรคาร์บอนกับออกซิเจนที่สมบูรณ์นั้นจะได้ไอเสียออกมาเพียงไม่กี่ตัวเท่านั้นคือ H2O (น้ำ), CO2 (คาร์บอนไดออกไซด์) แต่มันเป็นไปไม่ได้เพราะมันคืออุดมคติ ในความเป็นจริงแล้วการเผาไหม้ในเครื่องยนต์จะต้องใช้อากาศซึ่งจะมีไนโตรเจนปะปนเข้าไปด้วย อีกทั้งการจะควบคุมสเปรย์ให้เชื้อเพลิงคลุกเคล้ากับอากาศและเผาเชื้อเพลิงได้ทั้งหมดนั้นเป็นไปไม่ได้ ผู้ออกแบบเครื่องยนต์จึงหวังเพียงแค่ว่า ทำให้สภาวะการเผาไหม้นั้นดีที่สุดเท่าที่ทำได้เท่านั้น เช่นยึดหลัก 3T คือ Time […]


เครื่องกำเนิดไฟฟ้า รอบสวิง รอบไม่นิ่ง (Hunting)

สวัสดีอีกครั้งในเดือน กรกฏา นะครับ วันนี้ขอหยิบประเด็นที่น่าจะเป็นประโยชน์ เหมาะกับเจ้าของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่มีไว้ในครอบครอง หรือช่างเครื่องกำเนิดไฟฟ้าบางท่านที่อาจมีข้อสงสัยและกำลังหาแนวทางแก้ไขกันอยู่ หรือสำหรับผู้ที่สนใจไว้เป็นความรู้เพื่อพัฒนากันต่อไปได้ คำว่ารอบสวิง หรือรอบไม่นิ่ง ในภาษาอังกฤษจะเรียกว่า Hunting นั่นก็คือ ความเร็วรอบของเครื่องยนต์ที่มันไม่สามารถถูกรักษาให้คงที่อยู่ได้ในจุดเป้าหมาย เช่น ไม่สามารถรักษาความเร็วรอบให้คงที่ไว้ที่ 1500 rpm. นั้นได้ มันอาจมีอาการสวิงขึ้นลงเป็นจังหวะ สามารถสังเกตุได้จากเสียงและค่าที่อ่านได้จากหน้าจอ หรือเกจวัด ผลกระทบจากเครื่องยนต์มีความเร็วรอบที่สวิง ส่งผลให้ค่าความถี่ไฟฟ้านั้นแกว่งหรือสวิงตามไปด้วย เพราะความถี่ไฟฟ้านั้นแปรผันตรงกับความเร็วรอบของเครื่องยนต์ตามสมการ rpm=120f/P (เพราะมันคือแกนเพลาเดียวกันระหว่างเครื่องยนต์กับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า) ซึ่งเป็นสมการพื้นฐานที่ช่างเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแทบทุกคนท่องจำมันได้อย่างขึ้นใจ rpm ก็คือ ความเร็วรอบ, f คือ ความถี่ไฟฟ้า และ P คือจำนวน Pole ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า การ Hunting ของเครื่องยนต์กำเนิดไฟฟ้านั้นมีสาเหตุมาจากการควบคุมระบบเชื้อเพลิงที่ไม่สอดคล้องซึ่งกันและกันระหว่าง Input กับ Output หรืออาจเกิดได้จากตัวระบบเชื้อเพลิงที่เป็นปัญหาจนอยู่นอกเหนือความสามารถที่ระบบควบคุมจะรับได้ ระบบควบคุมความเร็วรอบของเครื่องยนต์นั้นเรียกว่า Governor Control จะมีอยู่ 2 ลักษณะคือ ที่เป็นแบบการควบคุมด้วยกลไกการหมุน (Mechanical Governor) และอีกแบบคือการควบคุมด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ […]


Engine Breather : ท่อระบาย หรือท่อหายใจ

พูดถึง Engine Breather ของเครื่องยนต์กันแล้ว ผู้ใช้เครื่องยนต์นั้นอาจมองข้ามมันไป แต่สำหรับช่างยนต์นั้นเป็นจุดที่พวกเขาจะใส่ใจเพราะมันจะเป็นตัวช่วยวิเคราะห์อะไรได้หลายอย่าง สำหรับวันนี้ขอนำประสบการณ์กับ CUMMINS รุ่น 6CT มาเล่าสู่กันฟัง เพื่อเป็นข้อมูลแบ่งปันความรู้จากประสบการณ์จริงกันได้ คำว่า Breather แปลก็ค่อนข้างตรงตัวคือการหายใจ หรือการระบายนั่นเอง เครื่องยนต์แบบลูกสูบทุกเครื่องนั้นจะมีห้องเครื่องส่วนล่าง ที่เป็นที่เก็บกักนั้นมันเครื่อง และมีช่องเชื่อมต่อกันถึงห้องวาล์ว เมื่อเครื่องยนต์ทำงานจะเกิดทั้งความร้อนและแรงดันที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของลูกสูบ และแน่นอนว่ามันควรจะมีท่อหายใจ หรือท่อระบาย หรือที่เรียกกันว่า Breather นี่แหละ จะเป็นตัวช่วยระบายแรงดันไอน้ำมันเครื่องที่ผสมกับอากาศหรือแก๊สจากห้องเผาไหม้ที่เล็ดรอดมาจากห้องเผาไหมผ่านร่องแหวนมาได้ จากอาการของ 6CT ที่นำมาแบ่งปันวันนี้คือ เริ่มจากผู้ใช้สังเกตุเห็นมีคราบน้ำมันหล่อลื่นรั่วซึมแทบทุกจุด เช่น มีคราบที่ทางออกไอเสียหลัง Turbo และรั่ว ตรงประเกนก้นอ่าง และที่ Sensor วัดแรงดันน้ำมันเครื่อง รวมถึงมีล้นออกมาจากก้านวัดระดับ ซึ่งเป็นอาการเดียวกันกับที่เคยพบในเครื่อง Komatsu เมื่อ 3 ปีก่อน และจากประสบการณ์ของ Komatsu ทำให้เรารู้ทันทีว่า 6CT ที่มีปัญหานี้ เกิดจากการอุดตันของท่อหายใจหรือ Breather อย่างแน่นอน และเป็นที่มาของการนำมาเขียนบทความในวันนี้ เพื่อช่วยเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ปัญหาได้ตรงจุด มิเช่นนั้นแล้วอาจทำให้เปลืองเวลา […]


อุปกรณ์ควบคุมแรงดันไฟฟ้า หรือ AVR (Automatic Voltage Regulator)

สำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบ Synchronous Generator แล้วนั้นก็หนีไม่พ้นกับคำว่า AVR ที่หลายๆ ท่านคุ้นหูกันอยู่ เพราะอุปกรณ์ตัวนี้คือหัวใจในการผลิตและควบคุมแรงดันไฟฟ้าของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และบ่อยครั้งที่เราจะพบว่าอุปกรณ์ชุดนี้มีปัญหาหรือที่หลายๆ ท่านเรียกอาการนี้กันว่า "ไฟไม่ออก" ในช่วงเดือนที่ผ่านมานี้เราพบอาการถึง 4 งาน จึงอยากเอาประสบการณ์มานำเสนอเพื่อเป็นความรู้ เผื่อจะได้เป็นข้อมูลให้ผู้ที่สนใจได้นำไปช่วยวิเคราะห์ หรืออาจไปช่วยแก้ปัญหาเฉพาะหน้ากันได้บ้าง เรื่มจากพื้นฐานตัวเครื่องกำเนิดไฟฟ้านั้นจะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าออกมาได้นั้นจำเป็นต้องมีสนามแม่เหล็กที่ตัดผ่านตัวนำหรือขดลวดเพื่อให้เกิดการเหนี่ยวนำหรือเกิดแรงเคลื่อนของประจุไฟฟ้า สนามแม่เหล็กที่ถูกสร้างขึ้นมามักจะเป็นที่ตัวหมุนหรือ Rotor ไปตัดขดลวดที่อยู่กับที่หรือ Stator ผลิตได้ไฟฟ้าออกมานั่นเอง สนามแม่เหล็กมาจากไหน ? คำถามนี้ จะเป็นคำถามที่เกี่ยวข้องกับระบบ Excitation และเชื่อมโยงต่อไปถึงตัว AVR นั่นเอง ....   สนามแม่เหล็กเกิดขึ้นได้เมื่อมีกระแสไฟฟ้าแบบ DC ไหลผ่านตัวนำ (ขดลวดที่ Main Rotor) และถามต่อว่า ที่ Main Rotor มีกระแสไฟฟ้า DC มาจากไหน? ตอบ : กระแส DC ที่ไปเข้า Main Rotor ก็คือกระแสไฟฟ้าที่ถูกผลิตออกมาจากระบบ Excitation หรือ [...]