สมรรถนะของเครื่องสูบน้ำดับเพลิง และการทดสอบ

ผมเชื่อว่าปัจจุบันกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบดับเพลิงนั้นเริ่มมีความตื่นตัวมากขึ้นทุกวัน ทั้งเนื่องจากความเข้มงวดทางกฏหมายหรือข้อบังคับจากกรมธรรม์ในการทำประกันภัย ที่ต้องให้มีการทำการตรวจสอบซ่อมบำรุงระบบดับเพลิงให้พร้อมอยู่ตลอดเวลาและรวมถึงให้มีการทดสอบสมรรถนะของระบบเข้ามาเกี่ยวข้อง ในที่นี้จะมากล่าวถึงการทดสอบระบบเครื่องสูบน้ำดับเพลิงกัน ผมเชื่อว่ามีหลายท่านที่มีความเข้าใจและคุ้นเคยกับกิจกรรมการทดสอบทั้งแบบรายสัปดาห์หรือรายปีอยู่ เพราะอาจเป็นการทำตามแผนที่ต้องรับผิดชอบให้องค์กร หรืออาจเป็นผู้รับเหมาที่เข้าให้บริการต่อลูกค้า สำหรับบทความนี้เราจะเน้นการทดสอบเครื่องสูบน้ำดับเพลิงแบบที่ใช้เครื่องยนต์เป็นตัวขับเนื่องจากเป็นระบบที่มีใช้มากกว่าระบบที่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้า และมีความซับซ้อนของระบบที่มากกว่า การทดสอบ Fire Pump (ขอพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษนะครับเพราะพิมพ์ง่ายดี) แบ่งได้เป็นการทดสอบแบบรายสัปดาห์ (Weekly Test) หรือการทดสอบแบบรายปี (Yearly Test) สองแบบนี้จะเป็นการทดสอบเพื่อยืนยันความพร้อมและยืนยันสมรรถนะของ Fire Pump ตามมาตรฐาน NFPA25 ที่แนะนำไว้


การทดสอบแบบรายสัปดาห์จะเป็นการทดสอบแบบปิดวาล์วด้านจ่ายหรือ 0% Flow Rate หรือ Churn Flow เดินเครื่องเป็นเวลา 30 นาที การทดสอบแบบนี้มีคำถามและข้อสงสัยมากมายกับเจ้าของ Fire Pump ชุดนั้น เช่น จะทำไมต้องทดสอบกันทุกสัปดาห์และต้องเดินเครื่อง 30 นาทีเลยหรือ? คำตอบคือ ใช่ครับ มาตรฐานเขาเขียนไว้ และประกันภัยก็มักจะเอามาอ้างต้องทำตาม นี่แหละที่ทำให้หลีกเลี่ยงไม่ได้ มาคำถามข้อต่อไปกัน “ปิดวาล์วสุด 0% Flow แล้วปั๊มมันจะไม่พังหรอ? ปั๊มจะระเบิดไหม? เครื่องยนต์ทำงานหนักไปไหมเพราะมันอั้นหรือเปล่า?” คำตอบคือ : ปั๊มแบบ Centrifugal สามารถเดินได้ถ้ามีน้ำหล่อปั๊มอยู่หรือมีระบบ Circulation เอาความร้อนไประบายมันออก และจากประสบการณ์ถึงแม้น้ำจะไปไหนไม่ได้ มันจะร้อนไม่มากเท่าไหร่เมื่อครบ 30 นาที จิ๊บๆ แต่อย่าเผลอติดเครื่องไว้แล้วไปนอนหลับหล่ะ 555 ต่อมาคือคำอธิบายที่ว่าการปิดวาล์วเดินเครื่องนั้นผู้เดินเครื่องจะรู้สึกว่ามันหนักหนาสาหัสพังแน่ๆ ไม่ใช่ครับ การเดินเครื่องแบบปิดวาล์วนั้นเครื่องยนต์จะรับภาระน้อยที่สุดครับเพราะพลังงานของปั๊มมันเกิดจาก Flow ถ้าน้ำไม่ Flow มันจะแทบไม่มีการเอาพลังงานไปใช้นั่นเอง และเมื่อมันไม่มีการนำพลังงานไปใช้ เครื่องยนต์รับภาระนิดเดียวจึงทำให้รอบเครื่องยนต์นั้นสูงขึ้นจาก Rate Speed ได้ และที่จุดนี้เองค่า Discharge Pressure จะมีค่าสูงที่สุดด้วย (แต่ต้องไม่เกิน 140% นะ NFPA20 เขาว่าไว้) แล้วไงต่อทำไมปั๊มมันถึงสั่นสนั่นและรู้สึกร้อน ก็เพราะว่าเครื่องยนต์นั้นหมุนในขณะที่ปั๊มมีน้ำไง มันเลยยังมีพลังงานกลจากเพลาเครื่องยนต์ส่วนหนึ่งไปขับปั๊มและเปลี่ยนจากพลังงานกลส่วนนั้นเองไปเป็นการสั่นสะเทือนและความร้อน ย้ำนะครับ แต่มันแค่นิสเดียวอย่างดีก็ประมาณ 10-30% ของกำลังเครื่องยนต์ อ่า….ยังไม่จบมาต่อที่คลายข้อสงสัยและถกเถียงกันมาอย่างยาวนานเรื่องการทดสอบที่จุดนี้ตัว Relief Valve ควรจะต้องเปิดไหม? ตั้งค่าผิดไหมถ้ามันเปิด? หรือมันควรจะไม่เปิด? โอย งง… อย่างงครับ ไหนๆ ก็ไหนๆ มาทำความเข้าใจกับระบบ Relief Valve กันซะเลย Relief Valve มันมีไว้ป้องกันอุกรณ์ในระบบเสียหายอันเนื่องมาจากแรงดันที่สูงเกิน Design Pressure จากกรณีเกิดความเร็วรอบสูงทำให้แรงดันน้ำสูงตามไปด้วย ส่วนมากจะตั้งค่าไว้ไม่เกิน 121% ของ Churn Pressure แยกแยะให้ออกอีกนะครับระหว่าง Churn Pressure กับแรงดันใช้งาน (Rate Pressure) กับ Design Pressure  Rate Pressure คือค่าแรงดันที่ 100% Flow Rate จะมีค่าต่ำกว่า Churn Presure เป็นค่าที่ผู้ออกแบบระบบได้กำหนดไว้ตั้งแต่ตอนติดตั้ง Fire Pump แต่แรกแล้วสรุปไว้ว่าแรงดันนี้เพียงพอที่จะสามารถส่งน้ำไปยังจุดที่ไกลที่สุดได้ ส่วน Design Pressure คือค่าแรงดันออกแบบของอุปกรณ์แต่ละชนิดที่อยู่ในระบบเช่น ท่อ วาล์ว ฯลฯ เอาค่าอุปกรณ์ที่อ่อนแอที่สุดในระบบมาพิจารณามันควรรองรับได้สูงกว่า Churn Pressure แต่ด้วยสภาพ อายุการใช้งาน และปัจจัยต่างๆ นี่สิมันจะทนแรงดันได้ตามเลขที่ Name Plate ไหม แล้วค่อยมาว่ากัน และถ้าค่า Churn Pressure มาอยู่ใกล้กับ Design Pressure เมื่อไหร่ นั่นแหละตอนทดสอบแบบ Churn Flow เจ้า Relief Valve มันก็อาจจะเปิดได้ เพราะมันอาจถูกตั้งค่าไว้ต่ำจนใกล้เคียงสูสีที่ Churn Pressure ได้ ถ้าเป็นเช่นนี้ก็อย่าตกใจครับถ้ามันไหลไม่มากหรือวาล์วเปิดน้อยก็ปล่อยมันไปมั่งถือว่าน้อยมากเอามาเทียบแล้วใกล้ศูนย์แล้วกัน หรือถ้าท่านจะทวนสอบการปรับตัว Relief Valve ตอนทดสอบก็ลองตั้งค่าให้มันสูงขึ้นไปแบบไม่ให้มันเปิดเลยซะก็ได้ แต่ไม่ค่อยอยากแนะนำเพราะการทำเช่นนี้ถ้าพลาดแล้วลืมอาจเผลอตั้งไปเกิน Design Pressure เข้าแล้วลืมปรับคืน ก็อาจจะระเบิดเถิดเทิงได้นะครับ (ต้องคนเป็น) แล้วถ้าทดสอบที่ Churn Flow แล้วน้ำไหลผ่าน Relief Vale เยอะมากไป ก็คงต้องมาพิจารณาระบบกันใหม่แล้วหล่ะครับว่าอะไรผิดพร่องไปไหมต้องตั้ง Relief Valve ใหม่ไหม แรงดันจุดไกลสุดมีค่าได้ตามมาตรฐานไหม แล้วหาตัวคนที่ปรับตั้งค่าคนสุดท้ายให้เจอ


มาต่อกันที่ทำการทดสอบสมรรถนะรายปีกันครับ NFPA25 ว่าไว้ต้องมีการทำการทดสอบอย่างน้อยที่อัตราการไหล 3 จุด คือที่ Churn Flow (0% Flow) , 100% Flow Rate และที่ 150% Flow Rate เป็นอย่างน้อยแล้วเอาค่ามาทำลงเป็นกราฟ หรือ Curve ให้แกน X เป็น Flow และแกน Y เป็น Pressure กราฟ จะที่ได้จะต้องโค้งคว่ำปลายตก เพราะที่ Flow ยิ่งสูง Pressure จะยิ่งยก แต่จะต้องอยู่ในช่วง 95% เมื่อนำกราฟมาวางเทียบกับค่าตอนที่ติดตั้งระบบ อ่า… กราฟตอนติดตั้งหาเจอไหม? มันอยู่ไหน? ปัญหานี้เจอบ๊อยบ่อย เพราะเราไม่รู้จะเก็บมันไว้ทำไมตั้งแต่ตอนสร้างอาคารผู้รับหมามาติดตั้งไว้ให้ ทดสอบไว้ตอนตั้งระบบเสร็จแล้วก็ผ่านไป สุดท้ายหาย… มะเปงไรยังพอมีทางออกที่ Name Plate น่าจะมีค่าบอกอยู่ถ้าเป็นปั๊มแบบ UL/FM Listed เพราะเขาจะทดสอบร่วมกับผู้ผลิตและตีลง Name Plate ไว้ให้ ย้อนกลับมาอีก ก็ในเมื่อมันมี Name Plate แล้วจะเก็บผลทดสอบตอนติดตั้งเครื่องไว้ทำไม? จริงไหม? 5555 ตอบ: ไม่จริงครับ ค่าจาก Name Plate อาจไม่เท่ากับค่าที่ตอนติดตั้งครับ เพราะตอนติดตั้งจริงจะมีตัวแปรและปัจจัยที่ต่างจากการทดสอบในห้องทดสอบจากผู้ผลิตจะทำให้ค่านั้นผิดเพี้ยนไปจาก Name Plate แต่ถ้าในเมื่อมันหายไปแล้วเราก็เอามาทวนสอบกับ Name Plate เพื่อใช้เป็นทางออกสุดท้าย หรือไม่ก็ทำการ Verify ระบบใหม่ทั้งหมด ทำรายการคำนวนใหม่ Calibrate ชุดวัดใหม่หมดเพื่อสร้างกราฟขึ้นมาใหม่ที่มีวิศวกรรับรองระบบแล้วเก็บเป็นต้นแบบไว้ก็เป็นอีกทางออกหนึ่งได้เช่นกัน แต่ก็ต้องไปดูเงื่อนไขกับข้อตกลงกับ Auditor เขาดีดีแล้วกันนะครับว่าเขาจะโอกับเราไหม


Leave a Reply

Your email address will not be published.