สมรรถนะของเครื่องสูบน้ำดับเพลิง และการทดสอบ

ผมเชื่อว่าปัจจุบันกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบดับเพลิงนั้นเริ่มมีความตื่นตัวมากขึ้นทุกวัน ทั้งเนื่องจากความเข้มงวดทางกฏหมายหรือข้อบังคับจากกรมธรรม์ในการทำประกันภัย ที่ต้องให้มีการทำการตรวจสอบซ่อมบำรุงระบบดับเพลิงให้พร้อมอยู่ตลอดเวลาและรวมถึงให้มีการทดสอบสมรรถนะของระบบเข้ามาเกี่ยวข้อง ในที่นี้จะมากล่าวถึงการทดสอบระบบเครื่องสูบน้ำดับเพลิงกัน ผมเชื่อว่ามีหลายท่านที่มีความเข้าใจและคุ้นเคยกับกิจกรรมการทดสอบทั้งแบบรายสัปดาห์หรือรายปีอยู่ เพราะอาจเป็นการทำตามแผนที่ต้องรับผิดชอบให้องค์กร หรืออาจเป็นผู้รับเหมาที่เข้าให้บริการต่อลูกค้า สำหรับบทความนี้เราจะเน้นการทดสอบเครื่องสูบน้ำดับเพลิงแบบที่ใช้เครื่องยนต์เป็นตัวขับเนื่องจากเป็นระบบที่มีใช้มากกว่าระบบที่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้า และมีความซับซ้อนของระบบที่มากกว่า การทดสอบ Fire Pump (ขอพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษนะครับเพราะพิมพ์ง่ายดี) แบ่งได้เป็นการทดสอบแบบรายสัปดาห์ (Weekly Test) หรือการทดสอบแบบรายปี (Yearly Test) สองแบบนี้จะเป็นการทดสอบเพื่อยืนยันความพร้อมและยืนยันสมรรถนะของ Fire Pump ตามมาตรฐาน NFPA25 ที่แนะนำไว้ การทดสอบแบบรายสัปดาห์จะเป็นการทดสอบแบบปิดวาล์วด้านจ่ายหรือ 0% Flow Rate หรือ Churn Flow เดินเครื่องเป็นเวลา 30 นาที การทดสอบแบบนี้มีคำถามและข้อสงสัยมากมายกับเจ้าของ Fire Pump ชุดนั้น เช่น จะทำไมต้องทดสอบกันทุกสัปดาห์และต้องเดินเครื่อง 30 นาทีเลยหรือ? คำตอบคือ ใช่ครับ มาตรฐานเขาเขียนไว้ และประกันภัยก็มักจะเอามาอ้างต้องทำตาม นี่แหละที่ทำให้หลีกเลี่ยงไม่ได้ มาคำถามข้อต่อไปกัน "ปิดวาล์วสุด 0% Flow แล้วปั๊มมันจะไม่พังหรอ? ปั๊มจะระเบิดไหม? เครื่องยนต์ทำงานหนักไปไหมเพราะมันอั้นหรือเปล่า?" [...]


การทดสอบประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ : Battery Quality Test

ว่าด้วยเรื่องแบตเตอรี่ของเครื่องยนต์ จะเป็นเครื่องยนต์กำเนิดไฟฟ้า หรือเครื่องสูบน้ำดับเพลิงก็ดี มันแทบจะเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในระบบเลยก็ว่าได้ เพราะจากประสบการณ์การให้บริการที่ผ่านมา สายเรียกเข้ามักแจ้งว่าเครื่องสตาร์ทไม่ติด 100 สาย พบปัญหานั้นเกิดจากแบตเตอรี่มากกว่า 50% ก่อนที่จะให้ช่างเทคนิคไปตรวจสอบบริการหน้างานก็จะย้ำเสมอว่า "เอาแบตเตอรี่สำรองไปด้วยนะ" ยอมยกกันเหนื่อยหน่อยแต่ก็คุ้มครับ บางกรณีเหนื่อยรอบเดียวคือตอนยกไปตั้ง แต่ไม่ต้องยกกลับเพราะลูกค้าบอกขอไว้ใช้ก่อนนะเดี๋ยวไฟดับมาจะยุ่ง จึงเป็นที่มาของบทความนี้เพื่อมาทำความเข้าใจกัน เริ่มจากแบตเตอรี่นั้นเป็นแหล่งพลังงานที่ใช้สำหรับขับสตาร์ทเครื่องยนต์ที่ต้องใช้กำลังสูงมาก ถ้าเข่าอ่อนขึ้นมานิดเดียวก็หมุนไม่ไหวแล้ว ดังนั้นต้องเตรียมความพร้อมของแบตฯ ให้เต็มอยู่ตลอดเวลาเพระไม่รู้ว่าไฟจะดับ หรือไฟจะไหม้เมื่อไหร่ การเติมแบตเตอรี่ให้เต็มตลอดเวลาขณะเครื่องดับนั้นจะต้องใช้ชาร์จเจอร์แบบ Float ชาร์จ หรือที่เรียกกันว่า Automatic Battery Charger จะชาร์จไปเรื่อย 1-5 A แล้วแต่ว่าขณะนั้นมันใช้ภาระอะไรอยู่มั่งแต่พอเครื่องยนต์สตาร์ทติดได้แล้วนั้นพระเอกตัวจริงก็จะปรากฏตัวซึ่งก็คือ Alternator Charger หรือมักเรียกกันว่าไดร์ชาร์จ ที่จะติดอยู่กับตัวเครื่องและจ่ายไฟคืนแบตได้ขณะที่เครื่องหมุน และแล้วพระรองไม่เกี่ยวก็ถอยไป อายุการใช้งานของแบตเตอรี่ทั่วไปจะประมาณ 1.5-2 ปี อย่าให้เกินนี้เลยเพราะจะเสี่ยง บางที่ไม่ยอมเสี่ยงครบปีเปลี่ยนเลยและกรณีนี้แทบไม่เจอปัญหา ส่วนกรณีต้องรองบประมาณ หรือมีความเข้าใจที่ผิด ก็จะดึงไปบอกว่าเพิ่งปีครึ่งเองจะเปลี่ยนทำไม นี่แหละคือเสี่ยงครับ ควรฉีดวัคซีลกันไว้ดีกว่า แบตเตอรี่ในแต่ละระบบอาจมีอายุการใช้งานไม่เท่ากันเนื่องจากลักษณะการใช้งานหรือ พฤติกรรมการใช้งานที่ไม่เหมาะสมจะส่งผลให้อายุแบตฯ สั้นลง ตัวบอกอายุที่ดีคือค่า DOD หรือ Depth of [...]


Generator Service Maintenance

เครื่องยนต์ หรือ Engine ที่ถูกใช้เป็น Prime Mover ของอุปกรณ์เช่น Fire Pump หรือเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ปัจจุบันนั้นมีหลายยี่ห้อทั้ง Brand ทางยุโรป อเมริกา หรือ เอเซีย ซึ่งยี่ห้อที่เคยผ่านหูผ่านตามาหลายท่านก็จะอาจจะติดใจใน Brand ที่แตกต่างกันไป เช่นบางคนก็คุ้นเคยกับ CUMMINS บ้าง CATERPILLAR บ้าง PERKINS บ้าง VOLVO บ้าง หรือยี่ห้ออื่นๆ ซึ่งเครื่องยนต์แต่ละยี่ห้อนั้นก็จะมีจุดเด่นที่แตกต่างกันออกไป แต่ทุกยี่ห้อก็ยังหนีไม่พ้นที่ต้องทำการซ่อมบำรุงอยู่ดี สำหรับ Post นี้ อยากเพียงเกริ่นนำให้เห็นถึงความสำคัญของการทำการซ่อมบำรุงชุดเครื่องกำเนิดไฟฟ้าหรือ Generator Set ซึ่งสำหรับประเทศไทยแล้วนั้น Generator Set นั้นถูกติดตั้งไว้เพื่อวัตถุประสงค์สำหรับการสำรองไฟฟ้ารองรับกรณีไฟดับซะเป็นส่วนใหญ่ ส่วนที่จะใช้ในกรณีอื่นๆ ก็จะเป็นประเภทใช้แบบจริงจังกันไปเลยเช่นสถานที่ที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ หรือใช้ผลิตไฟขายหรือช่วยลดค่าไฟ การซ่อมบำรุงเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ใช้สำหรับสำรองไฟหรือที่เรียกกันว่า Standby Generator นั้นจากประสบการณ์ของผมกับลูกค้าที่ผ่านมา มักจะได้ยินคำนี้ติดหูมาตลอดจากเจ้าของหรือลูกค้ากับคำว่า "เครื่องไม่ได้ใช้จะซ่อมบำรุงอะไรกันเยอะแยะ เปลืองตังค์" บางครั้งก็อยากเก็บเครื่องมือกลับบ้านกันเลยทีเดียว 555 จากประเด็นดังกล่าว ผมจึงอยากหยิบยกบางกรณีจากประสบการณ์มาเล่าให้ฟังเพื่อที่จะสื่อให้เห็นถึงความสำคัญของการทำการซ่อมบำรุง [...]


Fire Pump System

ว่าด้วยเรื่องระบบ Fire Pump กันแล้ว จากประสบการณ์เท่าที่เห็นพบว่ายังมีข้อสงสัย และมีคำถามมากมาย ทั้งเกี่ยวกับการทำงาน การซ่อมบำรุง และความถูกต้องของระบบ ซึ่งมันไปเกี่ยวข้องกับมาตรการต่างๆ ทั้งทางข้อกฎหมาย และการทำประกันภัย จึงทำให้ปัจจุบันผู้ถือครอง Fire Pump นั้นเริ่มมีความตื่นตัวที่จะเริ่มปฏิบัติอย่างจริงจัง โดยมักจะเริ่มที่การทำการซ่อมบำรุง และตามด้วยการปรับปรุงระบบ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีมากเพราะการทำให้ระบบ Fire Pump นั้นอยู่ในความพร้อมแล้วนั้นเจ้าของหรือผู้ถือครองจะได้รับผลตอบแทนหลายด้านทั้งทางตรงและทางอ้อม Fire Pump ที่ถูกทำการซ่อมบำรุงนั้น ที่เห็นชัดที่สุดคือเขาจะพร้อมทำงานได้จริงและใช้ประโยชน์ได้จริงถ้ามีเหตุเพลิงไหม้ขึ้นมาจริงๆ นี่แหละครับคือผลทางตรงที่เจ้าของจะยังอาจมองไม่เห็นภาพชัดนัก ที่ผ่านมาจึงมักปล่อยปะละเลยกันไปบ้าง และผลดีอีกประการหนึ่งที่ได้รับจากการทำการซ่อมบำรุงก็คือ เครื่องจักรกลประเภทนี้มันชอบการซ้อม หรือชอบให้ถูกทดสอบ และมันมักจะชอบให้เปลี่ยนเสื้อผ้าอาบน้ำบ่อยๆ หรือการซ่อมเปลี่ยนอะไหล่ซ่อมบำรุงตามวาระนั่นเอง เช่น เปลี่ยนกรองต่างๆ น้ำมันหล่อลื่น น้ำหล่อเย็น และวัสดุประเภทยาง ที่มักจะเสื่อมตามเวลา ค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงเพียงไม่กี่บาท แต่มันสามารถป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายหนักที่ตีราคาความเสียหายมากกว่า 10-20 เท่าก็เป็นได้