การทดสอบประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ : Battery Quality Test

ว่าด้วยเรื่องแบตเตอรี่ของเครื่องยนต์ จะเป็นเครื่องยนต์กำเนิดไฟฟ้า หรือเครื่องสูบน้ำดับเพลิงก็ดี มันแทบจะเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในระบบเลยก็ว่าได้ เพราะจากประสบการณ์การให้บริการที่ผ่านมา สายเรียกเข้ามักแจ้งว่าเครื่องสตาร์ทไม่ติด 100 สาย พบปัญหานั้นเกิดจากแบตเตอรี่มากกว่า 50% ก่อนที่จะให้ช่างเทคนิคไปตรวจสอบบริการหน้างานก็จะย้ำเสมอว่า “เอาแบตเตอรี่สำรองไปด้วยนะ” ยอมยกกันเหนื่อยหน่อยแต่ก็คุ้มครับ บางกรณีเหนื่อยรอบเดียวคือตอนยกไปตั้ง แต่ไม่ต้องยกกลับเพราะลูกค้าบอกขอไว้ใช้ก่อนนะเดี๋ยวไฟดับมาจะยุ่ง จึงเป็นที่มาของบทความนี้เพื่อมาทำความเข้าใจกัน เริ่มจากแบตเตอรี่นั้นเป็นแหล่งพลังงานที่ใช้สำหรับขับสตาร์ทเครื่องยนต์ที่ต้องใช้กำลังสูงมาก ถ้าเข่าอ่อนขึ้นมานิดเดียวก็หมุนไม่ไหวแล้ว ดังนั้นต้องเตรียมความพร้อมของแบตฯ ให้เต็มอยู่ตลอดเวลาเพระไม่รู้ว่าไฟจะดับ หรือไฟจะไหม้เมื่อไหร่ การเติมแบตเตอรี่ให้เต็มตลอดเวลาขณะเครื่องดับนั้นจะต้องใช้ชาร์จเจอร์แบบ Float ชาร์จ หรือที่เรียกกันว่า Automatic Battery Charger จะชาร์จไปเรื่อย 1-5 A แล้วแต่ว่าขณะนั้นมันใช้ภาระอะไรอยู่มั่งแต่พอเครื่องยนต์สตาร์ทติดได้แล้วนั้นพระเอกตัวจริงก็จะปรากฏตัวซึ่งก็คือ Alternator Charger หรือมักเรียกกันว่าไดร์ชาร์จ ที่จะติดอยู่กับตัวเครื่องและจ่ายไฟคืนแบตได้ขณะที่เครื่องหมุน และแล้วพระรองไม่เกี่ยวก็ถอยไป อายุการใช้งานของแบตเตอรี่ทั่วไปจะประมาณ 1.5-2 ปี อย่าให้เกินนี้เลยเพราะจะเสี่ยง บางที่ไม่ยอมเสี่ยงครบปีเปลี่ยนเลยและกรณีนี้แทบไม่เจอปัญหา ส่วนกรณีต้องรองบประมาณ หรือมีความเข้าใจที่ผิด ก็จะดึงไปบอกว่าเพิ่งปีครึ่งเองจะเปลี่ยนทำไม นี่แหละคือเสี่ยงครับ ควรฉีดวัคซีลกันไว้ดีกว่า แบตเตอรี่ในแต่ละระบบอาจมีอายุการใช้งานไม่เท่ากันเนื่องจากลักษณะการใช้งานหรือ พฤติกรรมการใช้งานที่ไม่เหมาะสมจะส่งผลให้อายุแบตฯ สั้นลง ตัวบอกอายุที่ดีคือค่า DOD หรือ Depth of Discharge เป็นค่าที่บอกถึงเปอร์เซ็นการนำประจุออกไปมากน้อยแค่ไหนแล้วชาร์จกลับมาและนำมานับเป็นจำนวนครั้งหรือเรียกว่า Life Cycle ยิ่งเอาประจุออกมาก Life Cycle ก็จะต่ำ เหมือนกับว่าพ่อคนรวยแม่ให้ใช้เงินครั้งละเยอะๆ แต่จะใช้ได้ไม่บ่อยนะ อีกคนได้เงินจากแม่ครั้งละไม่กี่บาทแม่เลยบอกว่าใช้ไปเถอะลูกหลายครั้งแม่ก็ไม่ว่า แบบหลังนี่จะดีถ้าเปรียบกับแบตเตอรี่แล้วจะมีอายุที่ยาวนานกว่า มาถึงแล้วอะไรหล่ะที่เป็นตัวบอกว่าใกล้ถึงเวลาแล้วนะ คุณภาพแย่ลงแล้วนะ ไม่ไหวแล้วนะ แบตเตอรี่แบบน้ำกลั่นเขาจะใช้ตัววัด ถพ. หรือความถ่วงจำเพาะจุ่มลุงไปในแบตแล้วจะลอยในน้ำกลั่นอ่านค่ามาได้ควรมากกว่า 1.2 แต่ปัจจุบันที่เป็นที่นิยมคือการวัดด้วยเครื่องวัด CCA (Cold Craking Amp) แปลตรงๆ ก็หมายถึงการหมุนเครื่องขณะเครื่องเย็นได้ (แปลเข้าข้างคนไทยนะครับแต่ถ้าอ้างอิงเป็นวิชาการกันละก็คือ ต้องสามารถขับเครื่องให้หมุนได้ยาวนานถึง 30 วินาที ที่อุณหภูมิติดลบอาจมากว่า -18 องศาเซลเซียส) โดยค่านี้จะต้องมีค่าอยู่ในเกณฑ์แนะนำของแต่ละยี่ห้อและขนาดของแบตเตอรี่นั้นๆ ปกติแล้วค่าเกณฑที่บอกว่ามันเริ่มจะเสื่อมแล้วก็จะมีค่าอยู่บริเวณ CCA = 500 ดังนั้นอย่ารอให้มาถึงค่านี้ก็เปลี่ยนเถอะครับ ปกติแบตฯ ใหม่ๆ จะมีค่าถึง 1000 และจะลดลงเรื่อยๆ ตามเวลา และเดาได้ว่าเมื่อใกล้ครบ 1.5 – 2 ปี ค่า CCA ที่วัดได้ก็น่าจะใกล้ขึ้นเขียงแล้วครับ


Leave a Reply

Your email address will not be published.